ขวดแก้วทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับสิ่งแวดล้อม

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนด้วยการใช้ขวดแก้ว

ขวดพลาสติก 

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มหรือเครื่องปรุงรสต่างๆ บรรจุภัณฑ์ที่หลายแบรนด์เลือกใช้ในท้องตลาดโดยทั่วไปก็มักจะเลือก ขวดแก้ว เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งวัสดุแก้วนั้นเป็นสารอนินทรีย์มีส่วนประกอบหลักคือทรายแก้ว, หินปูนบริสุทธิ์, โซเดียมคาร์บอเนต, เศษแก้วและสารที่ใช้เป็นตัวฟอกสี โดยวัตถุดิบเหล่านี้สามารถหาได้ภายในประเทศจึงทำให้มีต้นทุนถูกกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ อย่างพลาสติกที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

แม้การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้วจะได้รับความนิยมเพราะมีราคาถูก, สามารถทนต่ออุณหภูมิสูง และไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ กับผลิตภัณฑ์ภายในจึงมีความปลอดภัยสูงสำหรับผู้บริโภค นอกจากนั้นก็ยังช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ดูมีมูลค่ามากขึ้น ที่สำคัญก็คือเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถทั้งนำกลับมาใช้ซ้ำได้หรือนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ได้แล้วนั้น แต่ ขวดแก้ว ก็มีข้อด้อยในเรื่องของความเปราะบางแตกหักง่ายและมีน้ำหนักมาก จึงไม่สะดวกในการขนส่งขนย้ายจึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในขนส่งสูงกว่าปกติ จนผู้ประกอบการหลายเจ้าเลือกที่จะใช้ขวดหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกแทน เพราะมีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงกระแทกและมีราคาไม่แพง

แต่ในปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่เริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือธุรกิจใดๆ ผู้คนก็เริ่มตระหนักถึงการลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง รวมถึงลดการสร้างขยะให้กับโลก การใช้ ขวดแก้ว จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดขยะให้กับโลกได้เป็นอย่างดี ที่ถึงแม้จะไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่ก็สามารถนำกลับล้างทำความสะอาดเพื่อใช้ประโยชน์ซ้ำและสามารถนำมารีไซเคิลได้ แต่ก็ใช่ว่าขวดที่ทำจากแก้วทุกอย่างจะสามารถนำรีไซเคิลได้ 100% ฉะนั้น ก่อนที่คุณจะเลือกใช้ขวดบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในบทความนี้ โอ้วไถ่ฮง จึงจะขอนำเสนอเรื่องราวของขวดบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้ว ที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลได้ เพื่อเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อมของเรา ดังต่อไปนี้

ก่อนจะมาเป็น “ขวดแก้ว

ขวดหรือบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากแก้วนั้น เกิดจากกระบวนการหลอมและทำให้เย็นลงของแร่และวัตถุดิบทางเคมีต่างๆ อาทิ ทรายแก้ว, หินปูนบริสุทธิ์, โซเดียมคาร์บอเนต, เศษแก้วและสารออกไซด์แต่งสีหรือออกไซด์ของสารให้ความกระจ่าง โดยแก้วนั้นเป็นวัสดุเก่าที่สุดที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา เพราะมีหลักฐานปรากฏว่ามีการใช้วัสดุแก้วนั้นมามากกว่า 2,500 ปี โดยสันนิษฐานว่ากระบวนการหลอมแก้วนั้น น่าจะเกิดครั้งแรกที่ตะวันออกกลางหรือในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน และได้พัฒนารูปลักษรืและรูปทรงเพื่อใช้งานทั้งเป็นภาชนะใส่อาหาร เครื่องดื่ม ไปจนถึงการเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์กันจนทุกวันนี้

ขวดแก้ว” แบบไหนบ้างที่สามารถรีไซเคิลได้

  • ขวดเครื่องปรุง (ถอดฝาออก)
  • ขวดน้ำอัดลม
  • ขวดเบียร์
  • ขวดโซดา
  • ขวดครีม, น้ำหอม


เนื่องจากหลายคนอาจจะยังสับสนระหว่างแก้วกับกระจกแก้วซึ่งไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น บานหน้าต่าง, หลอดไฟ, จอมอนิเตอร์ของโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงแว่นตา ซึ่งหากยังสภาพดีอยู่การนำไปบริจาคให้แก่มูลนิธิหรือคนไปใช้ต่อก็เป็นการลดขยะให้กับโลกได้เช่นกัน

กระบวนการรีไซเคิล “ขวดแก้ว” มีอะไรบ้าง?

  1. รวบรวมผลิตภัณฑ์จากแก้วและขวดต่างๆ : เมื่อขยะจากที่ต่างๆ ถูกรวมเข้าไว้ในที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นขยะทั่วไปหรือขยะที่สามารถรีไซเคิลได้จะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดแยกขยะอีกครั้งหนึ่ง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าบางครั้งผู้บริโภคต่างๆ ก็มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับขยะที่รีไซเคิลได้หรือไม่ได้อยู่ ฉะนั้นเมื่อรวบรวมขวดหรือขยะต่างๆ ได้แล้วจะต้องนำมาคัดแยกอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อแยก ขวดแก้ว ที่สามารถรีไซเคิลได้แล้วก็จะต้องนำมาแยกฝาและฉลากสินค้าที่ติดมากับขวดออกก่อน
  2. คัดแยกขวดแก้วตามประเภทของสี คือ สีใส สีชา สีเขียวและสีอื่นๆ : นอกจากจะแยกสีของขวดต่างๆ แล้ว ในขั้นตอนนี้ยังจำแนกสภาพของของขวดที่สามารถรีไซเคิลได้ด้วย โดย ขวดแก้ว ที่สภาพสมบูรณ์ไม่แตกหักหรือบิ่นเสียหาย จะถูกนำไปล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนขวดที่สภาพไม่สมบูรณ์ที่ถูกคัดแยกสีแล้ว จะถูกนำไปกระบวนการบดละเอียดต่อไป
  3. ทำความสะอาดและบดย่อยขวดแก้ว : เมื่อผ่านกระบวนการแยกสีและคัดเอาขวดที่สภาพดีกับขวดที่แตกหักเสียหายออกจากกันแล้ว จะนำไปทำความสะอาดอีกครั้ง จากนั้นจะนำ ขวดแก้ว ที่สภาพไม่สมบูรณ์ไปบดย่อยจนละเอียด เมื่อบดแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มสี คือโปร่งใสและสี โดยอัตโนมัติ จากนำเข้าสู่กระบวนการต่อไป
  4. นำไปผ่านตะแกรงร่อน เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนออก : เศษแก้วผ่านการบดละเอียดแล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการร่อนบนตะแกรงเพื่อกำจัดเศษเหล็กและโลหะชนิดอื่นๆ ออกด้วยเครื่องแยกแม่เหล็ก (Eddy Current Separator)
  5. นำไปหลอมละลายในเตาหลอมเหล็ก : ขั้นตอนต่อจากการแยกเศษแก้วที่บดแล้วและทำการแยกโลหะเรียบร้อย ก็จะนำเข้าเตาหลอมแก้วแต่ละสี เพื่อหลอมและขึ้นรูปเป็นขวดใหม่นั่นเอง


ขวดแก้วเมื่อรีไซเคิลแล้วนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?

  • นำไปใช้เป็นบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับอาหาร ยาและเคมี
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์และโคมไฟ
  • ส่วนประกอบของหลอดไฟประหยัดพลังงาน
  • เครื่องแก้วตกแต่งบ้าน
  • ใยแก้ว เพื่อนำไปผลิตฉนวนป้องกันความร้อน, ฉนวนไฟฟ้า, งานเสริมแรง หรืออุปกรณ์กีฬา เช่น ก้านไม้กอลฟ์, คันเบ็ดตกปลา, รถแข่ง หรือชุดแต่งมอเตอร์ไซด์ เป็นต้น


นอกจากการนำ ขวดแก้ว ที่ใช้แล้วไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลตามปกติแล้ว คุณเองก็สามารถลดปริมาณขยะโดยการนำกลับไปใช้ซ้ำได้ เพื่อลดกระบวนการของโรงงานรีไซเคิลได้ เช่น การนำขวดทีทำจากแก้วไปล้างทำความสะอาดไปทำโคมโฟ DIY หรือนำไปตกแต่งสวนง่ายๆ หรือนำไปเป็นแจกันดอกไม้ตกแต่งบ้านได้ หรือหากคุณอยู่ในฐานะผู้ประกอบการที่สามารถเลือก ขวดแก้ว ไปใช้ได้ก็นับว่าเป็นว่าทางเลือกที่ดี ที่คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

หากคุณกำลังมองหาขวดบรรจุภัณฑ์คุณภาพดี บริษัท โอ้วไถ่ฮง บรรจุภัณฑ์ จำกัด โดยเราเป็นทั้งผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางค์และเวชภัณฑ์ที่มีประสบการณ์เก่าแก่มานานกว่า 60 ปี ซึ่งเรามีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้หลากหลายรูปแบบให้คุณได้เลือก ไม่ว่าจะเป็น ขวด PET, ขวดสเปรย์, ขวดปั๊ม, กระปุกครีม หรือ ขวดแก้ว คุณภาพดีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของคุณให้ดูดีและน่าซื้อมากขึ้น หากคุณสนใจ สามารถติดต่อสอบถามสินค้าและสั่งซื้อได้ทาง

 

ติดต่อสอบถามสินค้าและสั่งซื้อได้ทาง

Line@ id: @othpackage
คุณแหว๋ว โทร. 084-752-7864
คุณหน่อย โทร. 089-687-5612

จัดส่งต่างจังหวัด หรือ รับสินค้าที่ราชพฤกษ์-พระราม5 ติดต่อ

Line@ id: @sopack
โทร. 02-459-4571 ถึง 8, 063-191-0915 , 086-903-4041 , 098-260-3900 , 081-890-5571